Joey Boy : Joey Man (2538) อัลบั้มเต็มชุดแรกของ โจอี้ บอย ต่อจากมินิอัลบั้ม 'Joey Boy' อัลบั้มนี้สามารถทำให้เพลงแร็ปของเขาเป็นที่รู้จักได้ในวงกว้างด้วยเพลง 'ลอยทะเล' และ
เพลงแร็ปเพราะๆ เท่ๆ อย่าง 'นั่งอยู่ตรงนี้' รวมถึง 'เอ โปด' เพลงเปิดตัวยุคแรกๆ ของเขา อัลบั้มนี้ได้ขุนพลฝีมือดีใน เบเกอรี่มิวสิค มาช่วยเพียบมีหัวเรือใหญ่คือ
สมเกียรติ อริยชัยพาณิชย์ ที่ควบตำแหน่งโปรดิวเซอร์และโปรแกรมเมอร์ดูเนื้อหาและดนตรีแล้วอัลบั้มนี้แสดงให้เห็นว่าโจอี้เริ่มเป็นผู้ใหญ่สมกับชื่ออัลบั้มจริงๆ
http://www.mediafire.com/?jyydmjifttnอรอรีย์ : Natural High (2538) อัลบั้มเต็มชุดที่หนึ่งของศิลปินกรันจ์หญิงคนเดียวของประเทศนี้ เธอแทบจะเหมาแต่งเพลงเองทั้งหมดทั้งอัลบั้ม มีเพลง 'แล้วเธอ' ที่สุดอื้ออึงเป็นเพลงดัง
และมีเพลงช้า 'ระหว่างเรา' เป็นเพลงที่เพราะที่สุดเพลงหนึ่งในปีนั้น อัลบั้มนี้ยังน่าสนใจตรงที่ได้คนเก่งๆ มาช่วยมากมาย ทั้ง เมธี โมเดิร์นด็อก,
โต้ง พีโอพี, โป้ โยคีเพลงย์บอย และ บอย โกสิยพงษ์
http://www.mediafire.com/?nnzgzjmjdzzเก่ง : ไปโรงเรียน (2539) หลังจากที่ออกอีพีชิมลางมาแล้ว ธัญลักษณ์ อภินาคพงษ์ ก็ออกอัลบั้มเต็มตามมาทันที เพลงในอัลบั้มนี้มีความสดทั้งแนวดนตรี, ซาวนด์ และแนวความคิด
เก่งเป็นคนแต่งและเรียบเรียงเองทั้งอัลบั้ม ดนตรีเป็นแนวอัลเทอร์เนทีฟลูกผสมที่มีทั้งแนวพังก์, ร็อกแอนด์โรล, ลูกทุ่ง และแทงโก มาปนกันได้อย่างกลมกลืน
เพลงเด็ดคือ 'ไปโรงเรียน' , 'Tango' และ 'ดุจังน้อง' อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จพองาม เป็นงานที่น่าจดจำในยุคอัลเตอร์เกลื่อนเมือง
http://www.mediafire.com/?cigyczmwnzyโยคี เพลย์บอย :โยคี เพลย์บอย (2539) วงดนตรีที่มีแกนนำอยู่อยู่ที่ โป้-ปิยะ ศาสตราวาหา ที่หาญกล้าแหวกกระแสอัลเทอร์เนทีฟ ด้วยอัลบั้มชุดเปิดตัวที่อัดแน่นด้วยเพลงแนวย้อนยุค
ที่หลากหลาย ผสมผสานดนตรียุค 70 อย่าง ฟังก์, ฮาร์ดร็อก, แบรสร็อก เข้ากับดนตรีอัลเทอร์เนทีฟที่มีระดับได้อย่างสมบูรณ์ เป็นงานที่ทรงคุณค่า
ชนิดที่แม้แต่ตัว โป้ เองก็เป็นเรื่องยากที่จะสร้างสรรค์งานที่ดีเทียบเคียงอัลบั้มชุดนี้ออกมาได้อีกครั้ง
http://www.mediafire.com/?jmjzntm5n5mวรรธนา วีรยวรรธน : Turquoise The Album (2539) อัลบั้มเต็มชุดแรกของนักร้องนักแต่งเพลงสาว เจ้าของงานชิ้นเยี่ยม 'เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม' การเขียนเนื้อเพลงในอัลบั้มนี้แสดงถึงมุมมองแบบผู้หญิงเก่ง
ที่รักสายลมแสงแดดและท้องทะเล แต่ต้องทนใช้ชีวิตอยู่ในเมืองได้อย่างชัดเจน ส่วนด้านดนตรีเป็นอะคูสติดร็อก มีกลิ่นไอริชและดนตรีพื้นบ้านอยู่บ้าง
เพลงเด็ดอย่างเช่น 'คว้าฝัน' , 'เก็บไว้ให้เธอ' , 'ขาดอะไรในใจคน' และ 'เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม' ที่วรรธนาร้องกับเปียโนตัวเดียว
http://www.mediafire.com/?zkmjcumuy4yมาโนช พุฒตาล : ในทรรศนะของข้าพเจ้า (2539) คอนเซปต์อัลบั้มที่ว่าด้วยการค้นหาคำตอบให้กับชีวิต ทั้งในเรื่องของความเชื่อ, ศาสนา และปัญหาสังคมที่กำลังเขม็งเกลียว ซึ่งสื่อออกมาได้ตรงประเด็นกว่า
ผลงานชิ้นก่อนหน้านี้ ('ไกล') ในส่วนของดนตรี มาโนช พุฒตาล บรรจงใส่อิทธิพลของแนวโฟล์กร็อกเข้าไปในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งก็เข้ากับเนื้อเพลง
ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันกลายเป็นงานขึ้นหิ้งไปแล้ว
http://www.mediafire.com/file/wmdol4myozn <=จีวัน : 10 ปี บนถนนดนตรี (2539)ดูโอชายหญิงศิลปินแนวเพลงทดลอง ฝ่ายชายนั้นมีเสียงใกล้กับ แอ๊ด คาราบาว อยู่บ้างแต่ฝ่ายหญิงออกไปทาง โยโกะ โอโนะ โน่นเลย เพลงของพวกเขาเป็น
ศิลปะเพื่อศิลปะจึงฟังลำบากหูอยู่สักหน่อย ส่วนใหญ่มีประเด็นเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติและสะท้อนปัญหาสังคม อัลบั้มนี้รวมงานเด่นๆ ของจีวันไว้ครบถ้วนทั้ง
'สิ่งใหม่ๆ' ที่ใช้การการร้องแบบงิ้วมาสร้างความตื่นใจ, 'เหตุราชดำเนิน' เพลงโฟล์กใสๆ บันทึกเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ 'เจ้าพระยา' ที่เป็นงานมหากาพย์ของพวกเขา
โดยคุณ Pai2519 จาก forindyParadox : Lunatic Planet (2539) งานที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งรู้จักกับวงร็อกไอเดียบรรเจิดวงนี้ เพลงส่วนใหญ่มาจากมันสมองของ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา ทีเพลง 'ไก่' , 'นักมายากล'
และ 'เพ้อ' ที่พอจะได้ยินตามวิทยุบ้าง และอัลบั้มนี้ยังเต็มไปด้วยเพลงร็อกแปลกๆ อย่าง 'แกงเผ็ดเป็ดย่าง' ที่เอาวิธีทำอาหารมาแต่งเพลง, 'โรตีที่รัก' เพลง
รักภารตะ, 'ลาลาลา' เพลงอนุรักษ์ธรรมชาติดนตรีซับซ้อน เสียดายที่โปรโมตน้อย บวกกับปกที่ดูฮาร์ดคอร์ไปหน่อย ทำให้งานชุดนี้ไม่โด่งดังนัก
http://www.mediafire.com/?nin5mimtox0ละอองฟอง : ละอองฟอง (2539) วงแนวป๊อปอังกฤษใสๆ จากค่ายร่องเสียงลำใยที่เปิดตัวด้วยเพลง 'วัน' ป๊อปสไตล์วง Frente ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่กับเพลงอื่นๆ ในอัลบั้ม
พวกเขาสามารถแต่งและเรียบเรียงเพลงแนวบริตป๊อปใสๆ ได้อย่างลงตัวสุดๆ โดยเฉพาะเพลงช้าที่เพราะขาดใจอย่าง 'รัก' ภายหลังนักร้องนำ วิสาห์ อัธเสรี
ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวกับจินี่เรคอร์ดส์ ซึ่งเป็นงานดนตรีชิ้นเยี่ยมอีกชุด ...แต่ไม่ดังเช่นกัน
http://www.mediafire.com/?gmuzyw2nnmmStreet Funk Rollers : Street Funk Rollers (2540) บลูร็อก, ฮาร์ดร็อกบูลส์, ดิสโก้, ป๊อป, ฟังกี้, ละติน, คลาสสิก, เฮฟวี่เมตัล และ อัลเทอร์เนทีฟ ถูกนำมายำรวมเอาไว้ในอัลบั้มชุดแรกของ สตรีต ฟังก์
โรลเลอร์ ได้อย่างลงตัวและเป็นเอกภาพ ความเป็นอัจฉริยะของ อรรถพงศ์ บุญเสริมทรัพย์ หัวหน้าวง ไม่น้อยหน้าใครในวงการ งานนี้ทำให้พวกเขาได้
รางวัลสีสันอวอร์ด สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมด้วย ไม่น่าแปลกใจที่ภายหลังเขาจะได้ไปมีส่วนร่วมในงานชั้นดี Visa ของ วิสาห์ อัทธเสรี
http://www.mediafire.com/?dyjzn5emom1โมเดิร์นด็อก : Cafe (2540) อัลบั้มชุดแรกของพวกเขาทำให้นึกถึงโมเดิร์นร็อกจากฝั่งอเมริกา แต่พอมาถึงชุดนี้ โมเดิร์นด็อกเอาอิทธิพลของดนตรีป๊อป, ร็อก และเทคโน ฝั่งอังกฤษ
อย่าง U2 เข้ามาผสมในงานของตัวเองอย่างลงตัว เพลงของพวกเขาเป็นอาร์ตขึ้นอย่างรู้สึกได้ อย่าง 'รูปไม่หล่อ' เทคโนร็อกเข้มข้น และ 'เกือก' ที่ได้
ชาย เมืองสิงห์ มาร้องด้วย แต่ยังมือเพลงป๊อปคือ 'ติ๋ม' เพลงเต้นรำเทคโน, 'ลึกซึ้ง' , 'สักเท่าไร' , 'ที่จริงในใจ' และ 'ขอบคุณ' ที่เป็นบริตป๊อปอย่างชัดเจน
http://www.mediafire.com/?znmind1zkyzจิระศักดิ์ ปานพุ่ม : Catarock (2540) ในวันนั้น จิระศักดิ์ ปานพุ่ม คือนักดนตรีหนุ่มไฟแรงที่มีอัลบั้มแรกกับ เทโรเรคอร์ดส์ ในวันที่ค่ายนี้เพิ่งก่อตั้งไม่นาน จิระศักดิ์เปิดตัวด้วยเพลงสุดเพราะ
อย่าง 'อย่าทำอย่างนั้น' และยังมีเพลงป๊อปร็อกลูกผสมระดับห้าดาวอีกหลายเพลง อย่างเพลงอกหัก 'ถึงอย่างไร' ที่แทบจะใช้กีตาร์ตัวเดียว, เพลงร็อกที่มี
เครื่องเป่าผสมอย่าง 'ตลอด' และอิเล็กทรอนิกส์ร็อก 'หล่อนเอ๋ย' อัลบั้มนี้ทำให้จิระศักดิ์ได้รางวัลศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม สีสันอวอร์ด ด้วย
http://www.mediafire.com/?zgzhzqntdyjBlackhead : Full Flavor (2540) อัลบั้มชุดนี้ของ Blackhead ไปอัดเสียงกันไกลถึงแอลเอ, สหรัฐอเมริกา ดนตรีเป็นร็อกลูกผสม มีทั้งแนวฟังก์ร็อก, แร็ปร็อก และฮาร์ดร็อกสนุกๆ อย่าง
'MR.ใหม่' มีเพลงที่น่าจดจำอย่าง 'สัญญา' ที่ได้เครื่องกลุ่มเป่าเข้ามาเสริมจนฟังสวยงาม เพลง 'ยังไม่สาย' และ 'ตายไปเลย' ที่แสดงเจตนาเป็นวงร็อก
สีขาวโดยไม่ต้องมีใครบังคับ และเพลง 'Will You Ever Be With Me' ที่เป็นเพลงสากลหาฟังยากจาก Blackhead
http://www.mediafire.com/?acanzvtiwmyBoy Thai : Andaman Sun (2541) วงดนตรีที่ถือเป็นความหวังใหม่ของวงการดนตรีไทยประยุกต์ ในการรวมเอาความละเอียดอ่อนของเครื่องดนตรีไทย เข้ากับความทันสมัยของเครื่องดนตรี
สากลได้อย่างน่าชื่นชม นอกจากนั้นอัลบั้ม Andaman Sun ชุดนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นถึงประสบการณ์ที่เพิ่มพูนขึ้นของสมาชิกภายในวง (โดยเฉพาะ ชัยยุทธ
โตสง่า) ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในส่วนของการเรียบเรียงดนตรี มีรางวัลสีสันอวอร์ดรับประกันความยอดเยี่ยม
http://www.mediafire.com/?gtzzodzlnkyอะลาดิน : อะลาดิน (2542) ห้าหนุ่มแนวร็อก-แร็ปวงแรกของเมืองไทย ภายใต้การดูแลของ สุธี แสงเสรีชน อัลบั้มนี้ได้กล่องเพียบแต่ยอดขายไม่ดีนัก ตัวงานแสดงความสดทั้งฝีมือและ
ความคิดแบบเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง มีเพลงโปรโมตที่หลายคนเคยได้ยินคือ 'นางมารร้าย' และ 'แอบรักเธอ' มีเพลงร็อกอกหักโดนใจจิ๊กโก๋อย่าง 'ไม่มีใครตาย'
แต่เพลงที่น่าสนใจจริงๆ คือร็อก-แร็ปอย่าง 'ฮัลโหล!น้ำเน่า' , 'ศรีทน' , 'In Pub(มันแอบอยู่ในผับ)' ที่สนุกและลงตัวดีแท้
http://www.mediafire.com/?ytifklzazmmRik : ปฐม (2542) ผลลัพธ์ของการทำงานกว่า 4 ปี ระหว่าง สุกี้ สุโกศล แคลปป์ บิ๊กบอสแห่งเบเกอรี่ กับ นักร้องสาวที่มีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ ด้วยแนวดนตรี 'เวิลด์บีตร็อก'
ที่เต็มไปด้วย ซินซ์หลอนประสาทที่ให้กลิ่นภารตะอบอวล เสียงกีตาร์อันเกรี้ยวกราด บีตที่เร่งเร้าและซับซ้อน แต่ที่เหลืออื่นใดคือเสียงร้องของริค
ที่เป็นเสมือนเครื่องดนตรีอีกชิ้นหนึ่ง ถ่ายทอดเรื่องราวตั้งแต่การก่อกำเนิดไปจนถึงจุดจบของชีวิตได้อย่างตื่นตะลึงที่สุด
http://www.mediafire.com/?znzktyqwjmyParadox and My Friends (2542) งานใต้ดินที่ทำขายแบบจำนวนจำกัดของวงพาราด็อกซ์และผองเพื่อน หน้าเอมีเพลงของพาราด็อกซ์แปดเพลง การบันทึกเสียงไม่ดีนักแต่ได้อารมณ์สนุก
อย่าบอกใคร แสดงถึงความกล้าและบ้าบวกกับความเป็นอัจฉริยะของวงได้ดี เนื้อหาปลดปล่อยกันเต็มที่ โดยเฉพาะเพลง 'ยั่ว' ที่มีเนื้อร้องอย่าง
"ยั่วนักต้องอึ๊บหนัก..." ส่วนอีกหกเพลงในหน้าบีก็ฟังเพลินๆ คละกันไปหลายแนวทาง มีอดีตสมาชิกวง 'พราว' มาแสดงฝีมือด้วยหนึ่งเพลง
http://www.mediafire.com/?tkmzytyyxwwSkalaxy : Look (2542)อัลบั้มเปิดตัวจากสการ็อกวงแรกของเมืองไทย สมาชิกวงแต่งเพลงและเรียบเรียงกันเองทุกเพลง ภายใต้การดูแลของ นครินทร์ ธีระภินันท์ (กอล์ฟ ทีโบน)
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพลงเร็กเก้ และเป็นเจ้าของค่ายเพลงเล็กๆ ชื่อ 'หัวลำโพง ริดดิม' อัลบั้มนี้ไม่ดังนัก แต่เป็นงานดี ดนตรีมีสีสันและได้อารมณ์สนุกสนาน
ตามอย่างที่สกาควรจะเป็น เพลงที่พอจะผ่านหูในวงกว้างอยู่บ้างคือ 'U & ME' , 'ถาม' และ 'มอง'
http://www.mediafire.com/?imaewyzmmhjSmallroom : 001 (2542) งาน Compilation เปิดตัวค่ายเพลงเล็กๆ ที่ชื่อ Smallroom เป็นค่ายเพลงที่มีอดีตสมาชิกวง พราว และ Crub เป็นผู้ก่อตั้ง มีเพลงของวงอินดี้ที่น่าสนใจ
รวมอยู่หลายเพลง เพลงส่วนมากจะมีกลิ่นไปทางดนตรีบริตป๊อป และศิลปินหลายๆ รายในอัลบั้มนี้ก็ยังคงมีงานต่อเนื่องออกมาเรื่อยๆ เช่น สี่เต่าเธอ,
เพนกวินวิลล่า, กรูวีแอร์ไลน์ และ กรีซซี่แคฟ อัลบั้มนี้เป็นรากฐานสำคัญของค่าย Smallroom ที่กลายเป็นสังกัดเพลงอินดี้คุณภาพสูงแห่งหนึ่งของประเทศ
http://www.mediafire.com/?umrnjndmtgzสี่เต่าเธอ : The Love Boat (2543) 4 หนุ่มอารมณ์ดี เจ้าของวงชื่อชวนขันวงนี้ ก้าวไปอีกขั้น ด้วยเพลงสไตล์รีโทรป๊อป ที่นำคนฟังย้อนเวลาไปสู่ความรุ่งเรืองของดนตรีดิสโก้ในช่วงปลายยุค 70s
ไปจนถึงเพลงป๊อปต้นยุค 80s ซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยความสนุกสนานของเสียงซินซ์แบบโบราณ กลองไฟฟ้า และเบสไลน์สไตล์ฟังก์ ในขณะที่บทจะนุ่มนวล
ก็แสนจะไพเราะน่าฟัง ถึงแม้จะเพลงน้อยไปหน่อย (7 เพลงใหม่ กับอีก 1 รีมิกซ์) แต่ก็คุ้มสุดๆ ในแง่ของคุณภาพ
http://www.mediafire.com/?wnyhmkqbhhmT-Bone : Live (2543) อัลบั้มบันทึกการแสดงสดของวงเร้กเก้-สกา ที่ได้ชื่อว่าเล่นสดได้ดีที่สุดในประเทศ งานชุดนี้ทีโบนหันมาเน้นแนวสกาเต็มตัว แทบทุกเพลงจัดได้ว่ายอดเยี่ยม
ในแนวทาง มีเพลงฮิตของวงอย่าง 'แรงดึงดูด' , 'กอด', และ 'โต๋ ล่ง ตง' สลับกับเพลงบรรเลงสนุกๆ อย่าง 'T-Bone' , 'Skaville Thailand'
และ 'T-Bone Come to Town' มีโจอี้ บอย เป็นแขกรับเชิญ ปกอัลบั้มออกแบบโดย อุดม แต้พานิช
http://www.mediafire.com/?tkewyumdjzlอีเคล็กติก : สุนทราภรณ์ (2543) สองแกนหลักของโปรเจกต์ดนตรีชื่อ อีเคล็กติก คือ นรเศรษฐ หมัดคง - ดีเจชื่อดัง กับ ไบรอัน ยมจินดา - นักดนตรีฝีมือดี พวกเขาเอาเพลงเก่าสุดคลาสสิก
ของ สุนทราภรณ์ มาทำใหม่ในเวอร์ชันสุดล้ำ มีแขกรับเชิญเป็นคนในแวดวงอินดี้เพียบ อย่างเช่น วาสิต มุกดาวิจิตร, เจษฎา ธีระภินันท์, สุหฤท สยามวาลา
และ ริค วชิรปิลันธน์ อัลบั้มนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่เป็นงานที่น่าจดจำอย่างยิ่งสำหรับคนชอบเพลงเทคโนทันสมัย
http://www.mediafire.com/?gygwymiydywBillio : Pink (2544) การกลับมาอีกครั้งของ บิลลี่ โอแกน ในสังกัดของตัวเอง ที่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดตั้งแต่หัวจรดเท้าจริงๆ ตั้งแต่ชื่อใหม่ว่า Billio กับภาพลักษณ์ที่ดูอินดี้
กว่าเคย แต่เพลงมีกลิ่นของดนตรีเทคโนในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งก็ไม่ได้ทิ้งความเป็นป๊อปไปไหน แสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางวุฒิภาวะของบิลลี่
ได้เป็นอย่างดี 'Stay Cool' , 'ทนพอแล้ว' , 'น้อง' , 'คิดแล้วเศร้า' และ 'กาพย์เห่รัก' คือเพลงที่ไม่ควรพลาด
http://www.mediafire.com/?mnnjoidgkod2 Days ago kids : Time Machine (2544) งานรวมพลคนอินดี้ ที่ ศศิศ มิลินทวณิช รวบรวมเพื่อนๆอย่าง โป้ โยคีเพลย์บอย, สมาชิกวงฟรายเดย์, ก้อ พี.โอ.พี. ,ไก่ โนสแคนดี้, นอ วงพอส, โตน โซฟา มา
ช่วยกันสร้างเพลงป๊อปที่ทันสมัยแต่มีคอนเซปต์ว่าด้วยการรำลึกถึงอดีตอันสวยงาม คุณภาพทุกเพลงอยู่ในขั้นดีมีเพลง 'กลับมา' เป็นเพลงดังติดอันดับ 1 บนชาร์ตของคลื่นวิทยุ
ที่ส่งเสริมเพลงอินดี้ Fat Radio และถูกเปิดในคลื่นนี้ 1,681 ครั้งในปี 2544 และมีเพลงดังเพลงอื่นอีกเช่น 'มากกว่านี้' , 'ฉันไม่รู้จะรักเธอนานเท่าไร' , 'วันที่ใจซบเซา'
http://www.mediafire.com/?zkyezkqtdzeพรู : พรู (2544) วงดนตรีที่ผู้บริหารค่ายเพลงชื่อ กมล สุโกศล แคลปป์ เป็นหัวหน้าวง และมีน้องชาย กฤษฎา สุโกศล แคลปป์ เป็นตัวชูโรง อัลบั้มนี้เป็นงานเพลงที่เบเกอรี่
มิวสิคกลับมาเดินตามแนวทางอินดี้อีกครั้ง ไม่เฉพาะแนวเพลงที่เป็นร็อกลูกผสมแบบตามใจฉัน แต่ยังรวมถึงวิธีการโปรโมตที่เน้นเดินสายแสดงสดเป็นหลัก
เหมือนสมัยที่ทำโมเดิร์นด็อกชุดแรก วงดนตรีวงนี้ไปไกลถึงขนาดคว้ารางวัลศิลปินยอดนิยมจาก MTV ในปี 2545
http://www.mediafire.com/?1nnouwat5uw